Monday, October 29, 2007

" ความแตกต่างระหว่างสติกับสมาธิ "

เนื่องจากสติเป็นธรรมเครื่องรักษาจิตและสติจำเป็นในทุกกรณีดังนั้นการรู้จักเจริญสติจึงเป็นเรื่องสำคัญต่อการศึกษาพุทธธรรม
คำถามแรกที่มักจะถามกันคือสติกับสมาธิต่างกัน
อย่างไร?
สาเหตุของการตั้งคำถามนั้นเกิดจากว่าจิตจะกำหนดอารมณ์ได้นั้นต้องใช้สติและต้องใช้สมาธิจนทำให้แยกจากกันแทบไม่ออก
เพื่อความเข้าใจของความต่างกันระหว่างสติกับสมาธิจึงต้องยกอุปมาดังต่อไปนี้
ถ้าอุปมาจิตเหมือนลูกวัวที่พึ่งอย่านมจากแม่แล้วผูกลูกวัวไว้กับหลักเชือกที่ผูกคือสติอารมณ์ที่ให้จิตกำหนด(ในที่นี้ขอใช้ลมหายใจ)คือหลัก
ในตอนแรกที่ผูกนั้นลูกวัวจะดิ้นรนเต็มที่เพื่อจะไปกินนมแม่เปรียบเหมือนจิตที่คุ้นชินกับการเสพอารมณ์ต่างๆจากภายนอกก็จะดิ้นรนเพื่อจะไปเสพย์อารมณ์ที่คุ้นเคยเชือกจะดึงลูกวัวไม่ให้ออกจากหลักเปรียบเหมือนสติที่คอยดึงจิตให้อยู่กับลมหายใจ
ไม่ให้ไปอยู่กับอารมณ์อื่นเมื่อลูกวัวดิ้นไปไหนไม่ได้นานเข้าลูกวัวก็จะหยุดดิ้นและหมอบลงอยู่ที่หลัก
นั้นเองภาวะที่ลูกวัวไม่ดิ้นรนและหมอบลงอยู่ที่หลักนั้นคือสมาธิ
จากอุปมานี้จะเห็นว่าสติต่างกับสมาธิดังนี้คือ
สติมีลักษณะระลึกได้ไม่หลงลืมคือตามระลึกถึง
ลมหายใจไว้เสมอไม่ให้คลาดไปเหมือนเชือกที่ดึงลูกวัวไว้
การที่จิตไม่คลาดไปจากอารมณ์เป็นการตั้งมั่น
แบบหนึ่งของจิตท่านเปรียบอีกอย่างว่าเหมือน
เสาระเนียดที่ปักลงมั่นในอารมณ์(ระเนียดคือรั้วที่ปักเสารายตลอดไป,เสาค่าย)คือไม่ให้จิตหลุดไปกับอารมณ์ไหนสติจึงมีอรรถ(ความหมาย)ว่าไปตั้งไว้คือตั้งจิตไว้กับอารมณ์เช่นลมหายใจไม่ให้ไปไหนสติจึงมีการมุ่งหน้าต่ออารมณ์เป็นผล
ส่วนสมาธินั้นมีลักษณะไม่ซัดส่ายไปตามอารมณ์
คือนิ่งอยู่กับอารมณ์นั้นๆที่กำหนดอยู่ไม่ฟุ้งซ่านไปเหมือนการหมอบนิ่งของลูกวัวการนิ่งของจิตเป็นการตั้งมั่นแบบหนึ่งของจิตท่านเปรียบอีกอย่างว่าเหมือนเปลวเทียนที่นิ่งยามไม่ถูกลมพัดคือจิตไม่ซ่านไปไหนสมาธิจึงมีอรรถว่าให้ยึดมั่นคือตั้งไว้ซึ่งสหชาติปัจจัยทั้งหลายโดยชอบ.คือมีจิตมั่นแน่วแน่อยู่กับอารมณ์นั้นสมาธิจีงมีความไม่หวั่นไหวความสงบ
เป็นผล
เหตุใดการเจริญสติแล้วได้สมาธิ?
เพราะสมาธิเป็นกุศลธรรมที่มีลักษณะเป็นประธาน
เป็นใหญ่กุศลธรรมอื่นๆต้องโน้มไปหาอธิบายว่า
ไม่ว่าจะเจริญกุศลธรรมใดๆก็ตามผลของการเจริญนั้นต้องมีสมาธิเป็นผลด้วยเสมอ
เหตุใดการเจริญสมาธิต้องผ่านการเจริญสติ?
เพราะสติเป็นอธิบดีไม่ว่าจะทำอะไรก็ตามต้องผ่านการสั่งการจากอธิบดีก่อนจึงจะทำได้ด้วยเหตุนี้สติจึงจำเป็นในทุกกรณีการเจริญสมาธิก็เช่นกันต้องผ่านสติก่อน
การเจริญกุศลธรรมอื่นๆก็ต้องผ่านสติก่อนเหมือนกัน
เมื่อสมาธิเป็นประธานและสติเป็นอธิบดีอันเป็นตำแหน่งที่ใหญ่พอๆกันดังนั้นเวลากำหนดอารมณ์จึงต้องใช้ทั้งสติและสมาธิพร้อมๆกันจนทำให้แยกจากกันจนแทบไม่ได้การเจริญสมาธิก็เป็นการเจริญสติไปในตัวในขณะที่การเจริญสติก็เป็นการเจริญสมาธิไปในตัวเช่นกัน
สรุปคือการเอาจิตไปตั้งไม่ให้หลุดเป็นหน้าที่ของสติการที่จิตตั้งได้ไม่หลุดไปไหนเป็นหน้าที่ของสมาธิ
ความต่างกันของสติและสมาธิสามรถดูได้จากเหตุใกล้อีกทางหนึ่ง
คือสตินั้นมีความจำมั่นเป็นเหตุใกล้คือเมื่อหมายรู้อะไรบ่อยๆมากๆจนจำได้แม่นยำจำได้จนขึ้นใจสติก็จะระลึกถึงสิ่งที่ถูกหมายรู้ได้ง่ายเช่นเมื่อหมายรู้เกี่ยวกับลมหายใจบ่อยๆเช่นอ่านท่องสนทนาใคร่ครวญเกี่ยวกับพระสูตรที่แสดงความสำคัญของอานาปานสติมากๆจดจำความสำคัญของอานาปานสติได้จนขึ้นใจก็จะมีสติที่ลมหายใจได้ง่ายขึ้น
ส่วนสมาธินั้นมีความสุขเป็นเหตุใกล้คือเมื่อจิตมีสุขอยู่กับอารมณ์นั้นเช่นกับลมหายใจจิตก็ไม่ไปอยู่กับอารมณ์อื่นจิตก็นิ่งอยู่กับลมหายใจสมาธิก็เกิดขึ้น
ทั้งสติกับสมาธิเป็นธรรมที่ต้องมีปัญญากำกับอยู่เสมอคือเมื่อพูดถึงสติก็ต้องคิดถึงสัมปชัญญะด้วย
และเมื่อถึงพูดถึงสมาธิก็ต้องนึกถึงไตรสิกขาคือศีลสมาธิปัญญาคือต้องมองว่าสมาธิเป็นหนึ่งในไตรสิกขา
ไม่ใช่มองแยกออกมาโดดๆ

ที่มา : http://www.budpage.com/budboard/show_content.pl?b=1&t=516

No comments: